ในช่วงปีหลัง ๆ เรามักได้ยินข่าวน้ำท่วมเป็นประจำและเริ่มจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเฉียบพลัน และปัญหาโลกร้อนที่สะสมมานาน ซึ่งแม้เราไม่สามารถคาดการณ์ได้เลยว่าจะเกิดเมื่อไร แต่เราสามารถเตรียมพร้อมรับมือได้ ดังนั้นหากพื้นที่ที่จะก่อสร้างบ้านมีโอกาสน้ำท่วม ก่อนที่จะออกแบบหรือก่อสร้างบ้านจึงควรคำนึงถึงปัญหาเหล่านี้เป็นอันดับต้น ๆ แล้วออกแบบสร้างบ้านให้เหมาะสม พร้อมรับมือภัยน้ำท่วม เพื่อให้บ้านของเราคงทนแข็งแรงยาวนานตลอดอายุการใช้งาน
1. สำรวจพื้นดินทำเลสร้างบ้าน
สภาพชั้นดินที่แข็งแรงเป็นป้อมปราการชั้นดี ที่ช่วยยึดจับบ้านต้านภัยน้ำหลากได้ ดังนั้นหากอยู่ในพื้นที่มีประวัติน้ำท่วม ให้หลีกเลี่ยงพื้นดินที่เป็นหินกรวด ทราย หรือดินเหลว ให้มองหาพื้นที่ชั้นหินแข็งแรง หรือชั้นดินที่หนาแน่น หากสำรวจด้วยตาเปล่าแล้วไม่แน่ใจ ให้ปรึกษาวิศวกรอีกครั้ง อีกทำเลที่ควรหลีกเลี่ยงคือ เนินหินและต้นไม้ใหญ่ เนื่องจากเนินหินมีโอกาสถล่มลงมาได้ รวมถึงต้นไม้ใหญ่ที่สามารถล้มลงมาทับบ้านเมื่อเกิดลมพายุ
2. สำรวจระดับน้ำที่เคยท่วมถึง
เมื่อทราบถึงระดับน้ำที่เคยท่วมถึง ให้ออกแบบสร้างบ้านให้อยู่เหนือระดับน้ำ โดยยืมภูมิปัญญาไทยอย่างการยกใต้ถุนบ้านมาประยุกต์ใช้กับบ้านสมัยใหม่ ด้วยการยกตัวบ้านให้อยู่เหนือระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุด ให้ตัวบ้านต้องตั้งบนเสาเข็มหรือกำแพงกันดินที่แข็งแรง อาจเสริมโครงสร้างทแยงเพื่อรัดโครงสร้างบ้านให้แข็งแรงขึ้น และให้ดูความเหมาะสมกับสัดส่วนของตัวบ้าน
3. เพิ่มความยาวเสาเข็ม
เสาเข็มถือเป็นส่วนสำคัญที่สุดของบ้าน ทำหน้าที่ในการค้ำยัน ถ่ายน้ำหนักของตัวบ้านลงสู่พื้นดิน ดังนั้นหากทราบว่าหน้าดินของพื้นที่ที่จะสร้างบ้านมีการสไลด์ หรือไม่แข็งแรงพอ ควรออกแบบเสาเข็มให้มีความยาวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการเสียหายของหน้าดินที่จะส่งผลต่อความแข็งแรงของโครงสร้าง
4. หลีกเลี่ยงผนังมีที่หลายวัสดุหลายรอยต่อ
ผนังของบ้านไม่ควรใช้วัสดุที่หลากหลายชนิดเกินไป เพราะจะเกิดรอยต่อของวัสดุตามจุดต่างๆ ซึ่งเป็นจุดด้อยที่ทำให้บ้านอ่อนแอกว่าการมีผนังที่เป็นพื้นผิวเดียวกันทั้งผืน รอยต่อยังทำให้ผนังเสี่ยงที่จะเสียหายได้ก่อนส่วนอื่น ๆ อีกด้วย ดังนั้นควรเลือกใช้วัสดุทำผนังเพียงชนิดเดียวและต้องมีความยืดหยุ่นสูง
5. หลังคาน้ำหนักเบาปลอดภัยกว่า
หลังคาบ้าน ควรเป็นหลังคาแบบเบาแต่แน่นหนา เพื่อป้องกันการถล่มลงมาของหลังคา และควรเลือกใช้วัสดุที่ยืดหยุ่น เช่น ไม้หรือเหล็ก ซึ่งจะรับมือต่อพายุลมและฝนได้ดี ส่วนทรงหลังคาที่ปลอดภัยจากลมพายุฝน คือทรงลู่ลม หลังคาที่มีความลาดเอียงทั้งสี่ด้าน หรือที่เรียกว่า “ปั้นหยา” แต่ระวังช่องเปิดเหนือผนังที่ลมสามารถพัดผ่านได้บริเวณระหว่างเหนือผนังกับใต้หลังคา เพราะลมจะสามารถพัดผ่านและพัดเอาหลังคาหลุดลอยไปได้
6. บานประตูเปิดออกแข็งแรงกว่า
ออกแบบประตูบานเปิดออกสู่ภายนอก จะมีความแข็งแรงทนทานต่อแรงลมกว่าบานประตูแบบปิดเข้าภายใน เพราะเมื่อโดนลม น้ำ จะกระแทกเข้าสู่ตัวบ้านได้
7. แยกกันสาดออกจากหลังคา
ออกแบบให้หลังคากับกันสาดแยกออกจากกัน ไม่ควรให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของกันสาดเชื่อมต่อกับหลังคา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายพ่วงกัน นอกจากนี้ยังไม่ควรออกแบบชายคาที่ยื่นยาวเกินไป เพราะจะเพิ่มพื้นที่ในการปะทะของลม ทำให้มีโอกาสเสียหายมากขึ้น
8. หลีกเลี่ยงกระจก
บ้านที่สร้างในพื้นที่เสี่ยงต่อพายุและน้ำท่วม ควรหลีกเลี่ยงการใช้กระจกมาเป็นส่วนประกอบของประตูและหน้าต่าง เนื่องจากอันตรายสูงเมื่อเกิดการแตกเสียหาย ให้พิจารณาวัสดุประเภทไม้ อะลูมิเนียม เหล็ก หรือพลาสติกแทน แต่หากต้องการเลือกใช้กระจกให้เลือกเป็นกระจกนิรภัยแทน เพราะเมื่อแตกแล้วจะแตกละเอียดเป็นเม็ดเล็กๆ หรือเลือกกระจกลามิเนตที่มีฟิล์มสอดอยู่ตรงกลาง เวลาแตกก็จะไม่หล่นลงมา เพราะมีฟิล์มป้องกันอยู่
สำหรับบ้านที่จะสร้างในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย หรือเสี่ยงน้ำท่วม ควรเลือกบริษัทรับสร้างบ้านที่ได้มาตรฐาน มีทีมงานสถาปนิก และวิศวกรที่มีประสบการณ์สูง เพื่อให้บ้านที่สวยงามเหมาะสมกับสภาพที่ดิน และได้มาตรฐานความปลอดภัย
อย่างไรก็ตาม เพื่อน ๆ คนไหนที่กำลังสนใจหาตัวช่วยในการออกแบบพื้นที่ในบ้าน ลองทักหา Mela Deco ได้เลยนะคะ ทีมงานพร้อมให้บริการสุด ๆ เลยค่ะ
Website :: https://meladeco.com/
Official Instagram :: https://www.instagram.com/meladecoth/
Line Official :: @meladeco
Official Fanpage :: https://www.facebook.com/MelaDecoTH