MELA DECO

กลับไปยังหน้าข่าว

6 เทคนิคบ้านเย็นไม่ง้อแอร์

ไม่ว่าจะฤดูหนาว ฝน หรือฤดูร้อน แต่หลาย ๆ บ้านก็ยังเผชิญกับปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวและร้อนมากตลอดทุกฤดู ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดจากสภาพอากาศของประเทศไทยที่ร้อนเท่านั้น แท้จริงแล้วบ้านร้อนอบอ้าว มีต้นเหตุมาจากความร้อนสะสมที่มีอยู่ภายในบ้าน เพียงเพราะระบบระบายอากาศภายในบ้านไม่ดีนั่นเอง
 
สำหรับที่มาของปัญหา “บ้านร้อนอบอ้าว” เกิดจากการที่อากาศร้อนจากภายนอกถ่ายเทเข้าสู่ตัวบ้าน โดยไม่ได้มีการถ่ายเทออกภายนอกบ้าน ส่งผลให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านรู้สึกร้อน อบอ้าว ลองมาดูเช็กลิสต์สาเหตุที่เกิดขึ้น เพื่อแก้ไขให้บ้านเย็นอย่างถูกวิธี

สาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าว

 

1. ใช้พื้นที่เต็มจนขาดพื้นที่สีเขียว

หลายบ้านไม่มีเวลาดูแลพื้นที่สีเขียว จึงไม่ต้องการให้มีสนามหญ้า และเน้นทำเป็นลานคอนกรีตเต็มพื้นที่รอบบ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไอร้อนเข้าบ้าน หรือเลือกที่จะไม่ปลูกต้นไม้ใหญ่ ซึ่งจริง ๆ มีประโยชน์สำหรับการใช้บังแดด หรือกระทั่งการปลูกต้นไม้กระถางก็ไม่มี สร้างความรู้สึกร้อนให้กับผู้อยู่อาศัย

2. ผังบ้านวางไม่ถูกทิศ

ต้นเหตุของบ้านร้อนอบอ้าวส่วนหนึ่งมาจากการตำแหน่งห้องในบ้านไม่ถูกทิศ ทำให้ร้อนและอึดอัด หรือกระทั่งไม่มีกันสาดหรือระแนงกันความร้อนจากแสงแดดในช่วงบ่ายทางทิศใต้และทิศตะวันตก นอกจากนี้ยังมาจากพฤติกรรมของผู้อาศัยที่ไม่ยอมเปิดหน้าต่างทางทิศเหนือและทิศใต้ทำให้ลมไม่เข้าบ้าน อากาศไม่ถ่ายเทจึงอึดอัด และร้อน

ทิศอะไรเหมาะเป็นห้องอะไร
  • พื้นที่นั่งเล่นและรับแขก – ทิศเหนือ
  • พื้นที่ห้องนอน – ทิศตะวันออก
  • พื้นที่ห้องครัวและห้องน้ำ – ทิศตะวันตก
  • พื้นที่ซักล้าง – ทิศตะวันตก

3. การต่อเติมบ้านที่ไม่ถูกต้อง

การปรับปรุงหรือต่อเติมบ้านโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง เช่น รั้วบ้านสูงและทึบ จนลมไม่สามารถพัดผ่านเข้าสู่ภายในบ้าน หรือการต่อเติมบ้านจนไม่มีทางให้แสงและลมเข้าออก ทำให้บ้านมืดทึบและร้อนอบอ้าว และการติดตั้งฝ้าเพดานเตี้ยเกินไป ทำให้ความร้อนที่ต้องลอยตัวขึ้นด้านบนยังคงลอยตัวในระดับต่ำ

4. เลือกเฟอร์นิเจอร์ไม่เหมาะกับบ้าน

เฟอร์นิเจอร์ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มเสน่ห์ให้กับบ้าน ซึ่งนอกจากการเลือกที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์และฟังก์ชั่นการใช้งานแล้ว หากเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดใหญ่ไปจะทำให้อึดอัดแล้ว และยังปิดกั้นทางลมผ่าน ส่งผลให้บ้านร้อนอบอ้าวอีกด้วย

5. ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ถูกต้อง

บ้านที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านร้อนอบอ้าวได้ และหลายคนมองข้ามในเรื่องของการเลือกใช้หลอดไส้โคมดาวน์ไลท์ ซึ่งเป็นต้นเหตุทำให้ความร้อนมากกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ และห้องครัวไม่ได้ติดตั้งเครื่องดูดควันและพัดลมดูดอากาศ ทำให้ความร้อน กลิ่น และควัน สะสมอยู่ในตัวบ้าน

6. สีก็มีความสำคัญ

การทาสีบ้านเป็นรสนิยมของแต่ละคน ซึ่งการเลือกโทนสีเข้มทั้งภายนอกและภายในบ้าน อาจทำให้ผนังสะสมความร้อนมากเกินไป ดังนั้นการเลือกสีทาบ้านควรเลือกสีโทนอ่อนมากกว่าจะเป็นโทนเข้ม

วิธีแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว

บ้านร้อนอบอ้าว เป็นปัญหาสำคัญลำดับต้น ๆ ของบ้านในประเทศไทย โดยวิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนที่ต้นเหตุ คือ การแก้ปัญหาความร้อนที่เกิดขึ้นภายนอกบ้าน เพื่อไม่ให้เกิดความร้อนสะสมภายในบ้าน โดยความร้อนแผ่ลงมาจากหลังคาและผนังบ้าน โดยมีวิธีดังนี้

1. เลือกใช้ฝ้าเพดานสะท้อนรังสีความร้อน

ปัญหาความร้อนที่แผ่ลงมาจากหลังคานั้น ผู้อยู่อาศัยจะรู้สึกถึงความร้อนที่สะสมภายในห้องได้ในช่วงบ่าย สำหรับวิธีแก้ไขควรเลือกใช้แผ่นฝ้าเพดานที่สะท้อนรังสีความร้อน หรือเลือกใช้แผ่นยิปรอคชนิดสะท้อนรังสีความร้อนบุอะลูมิเนียมฟอยล์ ที่ช่วยลดการสะท้อนรังสีความร้อน โดยเลือกติดตั้งฝ้าเพดานใต้หลังคา เป็นต้น

2. การใช้ฉนวนกันความร้อน

“การใช้ฉนวนกันความร้อน” เป็นทางเลือกใหม่ที่สามารถช่วยลดปริมาณความร้อนจากภายนอกเเละเก็บความเย็นให้คงอยู่ภายในบ้านได้อย่างดีเยี่ยม เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด เพราะให้ประสิทธิภาพป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าเเผ่นฝ้าเพดานธรรมดา โดยฉนวนกันความร้อนมีหลากหลายประเภท ได้แก่

  • ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Fiberglass) หรือไมโครไฟเบอร์ มีคุณสมบัติทนความร้อนสูง ช่วยดูดซับความร้อนและเสียงสะท้อน ไม่ติดไฟ มีความหนา และยืดหยุ่น ติดตั้งง่าย
  • ฉนวนกันความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) หรือแผ่นสะท้อนความร้อน UV มีความเหนียวทนทาน ควรติดใต้หลังคาและติดคู่กับฉนวนใยแก้ว เพื่อความร้อน
  • ฉนวนกันความร้อนโฟมโพลีเอทิลีน (Polyethylene Foam) หรือโฟม PE มีความหนา เหนียว ทนต่อแรงกระแทก และการกัดกร่อน มีคุณสมบัติในการช่วย แก้ปัญหาหลังคาบ้านร้อน
  • ฉนวนกันความร้อนโพลีสไตรีนโฟม (Polystyrene Foam) หรือโฟม PS เป็น โฟมกันความร้อนและเย็น ติดตั้งง่าย นิยมนำมาติดตั้งเป็นฝ้าเพดานหรือผนังบ้าน

3. การใช้แผ่นชนิดกันร้อนพิเศษ ยิปรอค เทอร์มัลไลน์

ประกอบไปด้วย ในการผสาน 2 คุณสมบัติพิเศษ ลดการส่งผ่านความร้อนของแผ่นยิปซัมร่วมกับฉนวนโฟม EPS Hi-Dense ให้ประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันความร้อนจากภายนอกสู่ภายในอาคารได้มากกว่าผนังก่ออิฐทั่วไปถึง 8 เท่า ช่วยลดค่าแอร์ได้สูงสุด 69% เหมาะสำหรับผนังทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือฝ้าชั้นบนสุด

4. เลือกใช้หลังคาสีอ่อน

เพื่อช่วยสะท้อนรังสีความร้อน โดยหลังคาที่มีสีสว่างจะสะสมความร้อนน้อยกว่าสีมืด เพราะสีสว่าง จะไม่สามารถดูดกลืนแสงบางแสงได้ เช่น สีขาว สีเทา อย่างไรก็ดีหากเลือกใช้หลังคาสีเข้มควรเลือกวัสดุที่กันความร้อน หรือเคลือบชั้นสีที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน

5. กระเบื้องเลือกพื้นที่ให้ความเย็น

ได้แก่ หินอ่อน หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิก กระเบื้องพอร์ซเลน หรือกระเบื้องดินเผา เป็นกระเบื้องที่เหมาะสำหรับการปูกระเบื้องพื้นชั้นล่าง ด้วยวัสดุที่ช่วยเก็บความเย็น และระบายความร้อนได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งมีให้เลือกหลากหลายลายตามรสนิยมของผู้ที่อยู่อาศัย

6. ก่อผนังอิฐมอญ 2 ชั้น

บ้านโดยทั่วไปมักจะก่ออิฐมอญเพียง 1 ชั้น ดังนั้นเพื่อบ้านจึงรับแสงอาทิตย์โดยตรง วิธีการแก้ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าว ควรก่ออิฐมอญ 2 ชั้น โดยเฉพาะบ้านที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงเวลาบ่าย เพื่อป้องกันความร้อน โดยอุณหภูมิในบ้านจะเย็นลงประมาณ 5 องศาเซลเซียส

ปัญหาบ้านร้อนอบอ้าวแก้ด้วยวิธีง่าย ๆ บ้านจะเย็นลงโดยไม่ต้องพึ่งการเปิดเครื่องปรับอากาศให้เปลืองค่าไฟ เรียกว่าลงทุนแต่ครั้งเดียวแต่ในระยะยาวเกินคุ้ม แล้วสมาชิกในครอบครัวยังใช้ชีวิตอย่างมีความสุข

Website :: https://meladeco.com/
Official Instagram :: https://www.instagram.com/meladecoth/
Line Official :: @meladeco
Official Fanpage ::
https://www.facebook.com/MelaDecoTH

 

More from Mela Deco

อย่าเพิ่งติดตั้งประตูรั้วรีโมทอัตโนมัติ ถ้ายังไม่รู้สิ่งเหล่านี้!

ถ้าถามว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่หลาย ๆ บ้านเริ่มหันมาปรับเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลาย ประหยัดเวลาการเข้า-ออก มีความปลอดภัย...

ปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเดิม ทำได้หรือไม่?

เวลาอยู่บ้านหลังเดิมผ่านไปนาน ๆ อาจจะทำให้อยากเปลี่ยนกระเบื้องเก่าลายเดิมที่เห็นจนชินตามาหลายปี...

เลือกวัสดุมุงหลังคาบ้านให้เหมาะสมกับอากาศเมืองไทย

นอกจากการปกป้องจากแดดและฝนแล้ว หลังคายังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน...

5 เคล็ดลับ สร้างบ้านจบ งบไม่บานปลาย

ปัญหาหลักที่ทำให้หลาย ๆ คนไม่กล้าตัดสินใจสร้างบ้านเอง คือ กลัวงบบานปลาย ระยะเวลาการก่อสร้างยืดเยื้อ...

วิธีดูแลตู้เสื้อผ้า ให้ใช้งานได้ยาวนาน

สำหรับเพื่อน ๆ ที่เพิ่งซื้อตู้เสื้อผ้าเข้ามาใหม่ หรือมีตู้เสื้อผ้าเก่าที่ชอบมาก ๆ...

เดินสายไฟฝังผนัง VS เดินลอย แบบไหนดี?

เรื่องของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และการเดินสายไฟเป็นเรื่องที่ผู้อยู่อาศัยต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ ภายในบ้าน...

MELA DECO

Mela Deco รับออกแบบตกแต่งภายใน
ผลิตและติดตั้ง ที่ให้คุณได้ครบจบทั้งห้อง
ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์บิลต์อิน
หรือเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว
ตอบโจทย์ทุก Lifestyle

Latest Projects