MELA DECO

กลับไปยังหน้าข่าว

5 เรื่องเกี่ยวกับ “ทะเบียนบ้าน” ที่คนซื้อบ้านจำเป็นต้องรู้!

เรื่องของ “ทะเบียนบ้าน” เป็นสิ่งที่คนซื้อบ้านและคอนโดทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการย้ายทะเบียนบ้าน หรือแม้แต่การแจ้งสมาชิกเข้ามาอยู่ในบ้าน ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจถึงเรื่องของเอกสาร และขั้นตอนต่าง ๆ ทางกฎหมายที่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม วันนี้ทีมงาน Mela เลยมาสรุปใจความสำคัญให้ทุกคนได้อ่านกันค่ะ

เจ้าบ้าน และ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร

หากสังเกตกันดี ๆ ในทะเบียนบ้านมักจะมีคำว่า “เจ้าบ้าน” ปรากฎอยู่ แน่นอนว่ายังมีหลายคนที่ไม่เข้าใจว่าคำนี้แตกต่างอย่างไรกับ “เจ้าของบ้าน” โดยสามารถแยกบทบาทและสิทธิทางกฎหมายได้ดังนี้

>> เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่น ๆ หากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้านเกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้

มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น แจ้งเกิด-ตาย ย้ายที่อยู่ ขอเลขที่บ้าน หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน ซึ่งสามารถสรุปหน้าที่ของเจ้าบ้านได้ดังต่อไปนี้

  • แจ้งคนเกิดในบ้าน
  • แจ้งคนตายในบ้าน
  • แจ้งคนย้ายเข้า-ย้ายออก
  • สร้างบ้านใหม่หรือรื้อถอน
  • ขอเลขที่บ้าน

 

>> เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน และสัญญาซื้อขาย

มีหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นผู้มีสิทธิ์ในการขาย โอน บ้านและที่ดินหลังนั้น ทั้งนี้สามารถโอนถ่ายให้ลูกหลานเป็นเจ้าของบ้านได้

ซื้อบ้านหลายหลัง ชื่อในทะเบียนบ้านทำอย่างไร

เรื่องนี้ถือว่าค่อนข้างสำคัญสำหรับคนที่มีบ้านหลายหลัง โดยเฉพาะกลุ่มนักลงทุนอสังหาฯ ซึ่งคนเหล่านี้จะมีทะเบียนบ้านหลายฉบับ แต่ในทางกฎหมายจำเป็นต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านได้แค่เพียงฉบับเดียวเท่านั้น โดยสามารถใช้ชื่อฐานะเจ้าบ้านหรือผู้ดูแลบ้านได้

เนื่องจากตามกฎหมายไม่อนุญาตให้บุคคลเดียวกันมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านมากกว่าหนึ่งฉบับในเวลาเดียวกัน เพราะจะกระทบต่อบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

ดังนั้นนักลงทุนอสังหาฯ หรือกลุ่มคนทำงานที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด สามารถใช้วิธีนำชื่อของญาติ พ่อแม่ พี่น้อง หรือคนที่ไว้ใจมาใส่ในทะเบียนบ้านหลังอื่น ๆ ได้

ชื่อในทะเบียนบ้านสามารถปล่อยว่างได้หรือไม่

หลายคนอาจสงสัยว่าจากกรณีข้อที่ 2 หากไม่สามารถหาชื่อญาติ พ่อแม่ พี่น้อง มาใส่ในทะเบียนบ้านได้ สามารถให้ชื่อในทะเบียนปล่อยว่างได้หรือไม่ กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ แต่ถ้าเกิดวันหนึ่งอยากขายบ้าน ขายคอนโดขึ้นมาและถือครองอสังหาฯ นั้นไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามที่กฎหมายกำหนด คือ “พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 กำหนดให้ยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัยโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่น้อยกว่า 1 ปี นับแต่วันได้มา ดังนั้นหากท่านที่ขายอสังหาฯ ไปโดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ” นั่นเองค่ะ

วิธีแจ้งชื่อย้ายเข้า-ย้ายออกทะเบียนบ้านทำอย่างไร

การย้ายทะเบียนบ้านเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่อาจจะยังสงสัยเกี่ยวกับขั้นตอน เอกสาร รวมถึงข้อกำหนดทางกฎหมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

>> แจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้าน การแจ้งชื่อย้ายออกทะเบียนบ้านจะเป็นหน้าที่ของเจ้าบ้าน ซึ่งจำเป็นต้องย้ายออกภายใน 15 วัน หากเกินตามระยะเวลาที่กำหนด ตามกฎหมายกำหนดให้มีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยเจ้าบ้านสามารถยื่นเอกสารกับนายทะเบียนท้องที่ของทะเบียนบ้านเดิม ซึ่งจะผ่านการตรวจสอบเอกสารจากนายทะเบียนก่อนมีการประทับ “ย้าย” หน้าเอกสาร พร้อมมอบเอกสารแจ้งย้ายเข้าต่อไป สำหรับเอกสารที่ใช้ย้ายออกทะเบียนบ้านมีดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

>> แจ้งชื่อเพื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้าน หลังจากเจ้าบ้านแจ้งเรื่องย้ายออกจากทะเบียนบ้านหลังเดิมแล้ว เจ้าบ้านจำเป็นต้องแจ้งชื่อย้ายเข้าทะเบียนบ้านหลังใหม่ภายใน 15 วัน หากไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด จะมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท โดยต้องยื่นเอกสารให้กับนายทะเบียนท้องที่ที่ย้ายเข้า หลังจากนายทะเบียนตรวจสอบแล้วจะทำการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) ซึ่งมีเอกสารสำหรับย้ายเข้าทะเบียนบ้านดังนี้

  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  • หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  • บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 โดยเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

ทะเบียนบ้านหายต้องทำอย่างไร

สำหรับกรณีของทะเบียนหาย น่าจะเป็นสถานการณ์ที่พบบ่อยสำหรับนักลงทุนที่มีคอนโดหลายห้อง หรือคนที่ซื้อบ้านไว้ให้เช่าหลายหลัง

ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ทางเจ้าบ้านสามารถยื่นคำร้องกับฝ่ายทะเบียน พร้อมแนบเอกสารหลักฐานได้ดังต่อไปนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชนเจ้าบ้าน
  • กรณีมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องมีบัตรประจำตัวของผู้มอบและผู้รับมอบหมาย หนังสือผู้มอบหมาย ค่าธรรมเนียมในการออกเล่มใหม่ฉบับละ 20 บาท

เชื่อว่าเพื่อน ๆ คงจะได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับทะเบียนบ้านจากบทความนี้ไปกันบ้างแล้ว สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้ เพิ่งซื้อบ้านใหม่ หรือคอนโดใหม่ กำลังมองหาตัวช่วยในการออกแบบตกแต่งภายในบ้าน ลองทักหา Mela Deco ได้เลยนะคะ ทีมงานมืออาชีพ และพร้อมให้บริการสุด ๆ เลยค่ะ

Website :: https://meladeco.com/
Official Instagram :: https://www.instagram.com/meladecoth/
Line Official :: @meladeco
Official Fanpage ::
https://www.facebook.com/MelaDecoTH

 

More from Mela Deco

อย่าเพิ่งติดตั้งประตูรั้วรีโมทอัตโนมัติ ถ้ายังไม่รู้สิ่งเหล่านี้!

ถ้าถามว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่หลาย ๆ บ้านเริ่มหันมาปรับเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลาย ประหยัดเวลาการเข้า-ออก มีความปลอดภัย...

ปูกระเบื้องใหม่ทับกระเบื้องเดิม ทำได้หรือไม่?

เวลาอยู่บ้านหลังเดิมผ่านไปนาน ๆ อาจจะทำให้อยากเปลี่ยนกระเบื้องเก่าลายเดิมที่เห็นจนชินตามาหลายปี...

เลือกวัสดุมุงหลังคาบ้านให้เหมาะสมกับอากาศเมืองไทย

นอกจากการปกป้องจากแดดและฝนแล้ว หลังคายังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมอุณหภูมิภายในบ้าน...

5 เคล็ดลับ สร้างบ้านจบ งบไม่บานปลาย

ปัญหาหลักที่ทำให้หลาย ๆ คนไม่กล้าตัดสินใจสร้างบ้านเอง คือ กลัวงบบานปลาย ระยะเวลาการก่อสร้างยืดเยื้อ...

วิธีดูแลตู้เสื้อผ้า ให้ใช้งานได้ยาวนาน

สำหรับเพื่อน ๆ ที่เพิ่งซื้อตู้เสื้อผ้าเข้ามาใหม่ หรือมีตู้เสื้อผ้าเก่าที่ชอบมาก ๆ...

เดินสายไฟฝังผนัง VS เดินลอย แบบไหนดี?

เรื่องของระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และการเดินสายไฟเป็นเรื่องที่ผู้อยู่อาศัยต้องให้ความใส่ใจเป็นพิเศษ ไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ ภายในบ้าน...

MELA DECO

Mela Deco รับออกแบบตกแต่งภายใน
ผลิตและติดตั้ง ที่ให้คุณได้ครบจบทั้งห้อง
ไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์บิลต์อิน
หรือเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว
ตอบโจทย์ทุก Lifestyle

Latest Projects